List of content

Stop Loss คืออะไร? เทคนิคช่วยนักลงทุนหยุดพอร์ตแตก


Stop Loss คืออะไร? เทคนิคช่วยนักลงทุนหยุดพอร์ตแตก

การเทรดในตลาด Forex ที่มีความผันผวนสูงอาจทำให้เทรดเดอร์เสี่ยงต่อการสูญเสียเงินทุนจนถึงขั้นพอร์ตแตก แต่การใช้คำสั่ง Stop Loss (SL) จะช่วยลดความเสี่ยง โดยการปิดออเดอร์อัตโนมัติเมื่อราคาตลาดถึงจุดที่กำหนด แล้วควรตั้งค่า SL อย่างไร? และมีประโยชน์ต่อการเทรดอย่างไรบ้าง? เรามาทำความเข้าใจให้มากขึ้นในบทความนี้กันครับ

 

Stop Loss คืออะไร?

Stop Loss (SL) คือ คำสั่งที่ตั้งไว้ล่วงหน้าในการซื้อขายสินทรัพย์ เช่น หุ้น, Forex หรือ Cryptocurrency โดยเทรดเดอร์จะกำหนดการขาดทุน หากราคาสินทรัพย์ไปถึงระดับที่กำหนดไว้ คำสั่ง Stop Loss จะทำการปิดออเดอร์ โดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยให้เทรดเดอร์จำกัดการขาดทุนตามที่ตั้งไว้และลดความเสี่ยงในการโดนล้างพอร์ต

การใช้คำสั่ง Stop Loss ช่วยให้เทรดเดอร์ไม่ต้องเฝ้าจอหรือคอยติดตามกราฟตลอดเวลา โดยสามารถกำหนดการขาดทุนไว้ล่วงหน้าตามแผนการลงทุนของตนเอง จากนั้นปล่อยให้ระบบปิดออเดอร์อัตโนมัติเมื่อราคาถึงระดับที่กำหนด ซึ่งเหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่ไม่สามารถเฝ้าติดตามตลาดได้ตลอดหรือในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูงครับ

 

ทำไมถึงควรตั้ง Stop Loss (SL) ?

การตั้ง Stop Loss (SL) ก่อนการเทรดช่วยฝึกวินัยให้กับเทรดเดอร์ โดยการกำหนดการขาดทุนที่ยอมรับได้ในแต่ละครั้ง จะช่วยป้องกันไม่ให้ขาดทุนเกินกว่าที่คาดไว้ และลดความเสี่ยงจากการล้างพอร์ต หากเทรดเดอร์ไม่ตั้ง SL และเทรดด้วยอารมณ์ อาจทำให้การตัดสินใจช้าเกินไป ส่งผลให้ขาดทุนมากเกินครับ

 

ประเภทของ Stop Loss

Fixed Stop Loss 

Fixed Stop Loss เป็นการตั้ง Stop Loss (SL) ที่ระดับราคาคงที่ตั้งแต่แรก โดยไม่เปลี่ยนแปลงตามราคาสินทรัพย์หรือคู่เงินในตลาด Forex

Trailing Stop Loss

Trailing Stop Loss เป็นการตั้ง Stop Loss (SL) ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อัตโนมัติ เมื่อพอร์ตเริ่มได้กำไร จุด SL ที่ตั้งไว้จะปรับเปลี่ยนตามอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง (RRR) ซึ่งช่วยปกป้องกำไรที่ได้และยังป้องกันการขาดทุนเกินกำหนดได้

 

วิธีการตั้ง Stop Loss

วิธีการตั้ง Stop Loss (SL) ขึ้นอยู่กับการวางแผนหรือสไตล์ของเทรดเดอร์แต่ละคน ซึ่งวิธีการตั้งจุด SL ต่าง ๆ ควรพิจารณาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยทางเทคนิคร่วมด้วย ทางเราได้รวบรวมเทคนิคการตั้ง Stop Loss (SL) มาแนะนำให้กับเทรดเดอร์ ดังนี้

 

เทคนิคการตั้ง Stop Loss ที่แน่นอน

การกำหนดการขาดทุนที่ยอมรับได้ เทรดเดอร์สามารถตั้ง SL โดยการคำนวณเปอร์เซ็นต์ของเงินในพอร์ต หรือตั้งตามการเคลื่อนไหวของราคาระหว่างสองสกุลเงิน (Pips) เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ มักจะกำหนดความเสี่ยงต่อการเทรดแต่ละครั้งไม่เกิน 1-2% ของเงินทุน ส่วนการตั้ง Stop Loss ขึ้นอยู่กับเทรดเดอร์แต่ละคน ซึ่งอาจจะอยู่ที่ 5-20% ต่อการเปิดหนึ่งออเดอร์

 

เทคนิคการตั้ง Stop Loss ด้วยแนวรับแนวต้าน

การตั้ง Stop Loss ด้วยแนวรับแนวต้านเป็นวิธีที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้ในการวางแผนการเทรด โดยแนวรับแนวต้าน คือ การตั้งเส้นระดับราคาที่จะไม่ลดลงต่ำกว่าหรือไม่เพิ่มขึ้นสูงกว่า ทำให้เส้นเหล่านี้เป็นเส้นสำคัญในการตั้ง Stop Loss (SL) ครับ

หากเปิดออเดอร์ Buy (Long Position) จะตั้ง SL ที่เส้นแนวรับหรือต่ำกว่า และหากเปิดออเดอร์ Sell (Short Position) จะตั้ง SL ที่เส้นแนวต้านหรือเหนือกว่า เทรดเดอร์สามารถนำ Indicator มาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตั้งแนวรับแนวต้านได้ครับ

 

เทคนิคการตั้ง Stop Loss ด้วย Indicator

การใช้เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ (Indicator) ต่าง ๆ เช่น Stochastic Oscillator, MACD, RSI, Moving Average (MA) และ Bollinger Bands เพื่อช่วยหาจุดตั้ง SL ที่เหมาะสมครับ โดยในที่นี้ขอแนะนำเทคนิคการตั้ง SL ด้วย Fibonacci Retracement ที่เป็นเครื่องมือช่วยระบุแนวรับและแนวต้านสำคัญของราคาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Fibonacci Retracement คือ Indicator ที่ช่วยเทรดเดอร์ในการหาแนวรับแนวต้าน, จุดเปิดปิดออเดอร์และจุดตั้ง Stop Loss (SL) ในการเทรด เพื่อป้องกันการขาดทุนเกินกำหนดและเพิ่มโอกาสในการบริหารจัดการความเสี่ยงในตลาดได้ดียิ่งขึ้น

เครื่องมือนี้ใช้ระบุระดับการกลับตัวของราคา โดยสัดส่วนหลักที่นิยมคือ 23.6%, 38.2%, 50%, 61.8% และ 78.6% ซึ่งอ้างอิงตามกฎอัตราส่วน Golden Ratio ดังนั้น เทรดเดอร์จึงมักจะนำระดับเหล่านี้มาใช้วิเคราะห์ราคาเพื่อกำหนดแนวรับแนวต้าน, จุดเปิดปิดออเดอร์ และตั้งจุด SL ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีตั้งจุด Stop Loss (SL) ด้วย Fibonacci Retracement

  • หากเปิดออเดอร์ Buy (Long Position) เทรดเดอร์จะตั้งจุด Stop Loss (SL) ต่ำกว่าระดับ Fibonacci ถัดไป เพื่อป้องกันการขาดทุนเกินกำหนด หากราคาลดลงและทะลุแนวรับ

  • หากเปิดออเดอร์ Sell (Short Position) เทรดเดอร์จะตั้งจุด Stop Loss (SL) สูงกว่าระดับ Fibonacci ถัดไป เพื่อป้องกันการขาดทุนเกินกำหนด หากราคาสูงขึ้นและทะลุแนวต้าน

การตั้งจุด Stop Loss (SL) ที่ระดับ Fibonacci ที่เหมาะสมนั้น ส่วนใหญ่เทรดเดอร์มักตั้งจุดที่ 61.8% หรือ 50% เพราะเป็นจุดสำคัญที่ราคาอาจมีการกลับตัวหรือพักตัวตามหลักอัตราส่วน Fibonacci

 

การตั้งจุด Stop Loss (SL) ด้วย Fibonacci Retracement

ตัวอย่างการตั้งจุด Stop Loss (SL) ด้วย Fibonacci Retracement 📈
หากเปิดออเดอร์ Buy (Long Position) ณ ราคา 34.845 บาท โดยราคา USDTHB สูงสุดอยู่ที่ 35.168 บาท และต่ำสุดอยู่ที่ 33.544 บาท เทรดเดอร์ใช้ Fibonacci Retracement เพื่อวาดเส้นจาก 35.168 บาทไปยัง 33.544 บาท และระดับ Fibonacci ที่ 61.8% จะอยู่ที่ประมาณ 34.548 บาท เทรดเดอร์อาจตั้งจุด SL ต่ำกว่าระดับนี้ที่ 34.356 บาท เพื่อป้องกันการขาดทุนเกินกำหนดหากราคาคู่เงินลดลงต่ำกว่า 34.356 บาท

 

เทคนิคการตั้งจุด Stop Loss แบบ Trailing Stop คืออะไร?

Trailing Stop คือ การตั้งจุด Stop Loss (SL) แบบเลื่อนจุด Stop Loss ตามกำไรที่เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ยังคงรักษาสัดส่วนความเสี่ยงเท่าเดิม (Risk Reward Ratio) เป็นเทคนิคที่ออกแบบมาเพื่อล็อกกำไรหรือป้องกันการขาดทุนเกินกำหนด เมื่อเทรดเดอร์มีกำไรแล้วยังไม่อยากปิดออเดอร์ 

  • หากเปิดออเดอร์ Buy (Long Position) Trailing Stop จะขยับขึ้นตามราคาสูงสุดใหม่ของสินทรัพย์หรือราคาคู่เงินในตลาด Forex และเมื่อราคาลดลงจากจุดสูงสุดในระยะที่กำหนด (เช่น 15%) คำสั่ง Buy จะถูกปิด เพื่อป้องกันการขาดทุนเกินกำหนดหรือล็อกกำไร

  • หากเปิดออเดอร์ Sell (Short Position) Trailing Stop จะขยับลงตามราคาต่ำสุดใหม่ของสินทรัพย์หรือราคาคู่เงินในตลาด Forex และเมื่อราคาสูงขึ้นจากจุดต่ำสุดในระยะที่กำหนด (เช่น 15%) คำสั่ง Sell จะถูกปิด เพื่อป้องกันการขาดทุนเกินกำหนดหรือล็อกกำไร

 

การตั้ง Stop Loss ในโปรแกรมเทรด MT4/MT5

วิธีการตั้งค่า Stop Loss (SL) ใน MT5 เทรดเดอร์สามารถเลือกสินทรัพย์หรือคู่เงินในตลาด Forex ที่ต้องการ จากนั้นเลือกราคาซื้อขายที่ต้องการและเทรดเดอร์สามารถตั้ง Stop Loss (SL) ก่อนส่งคำสั่งซื้อขายได้หรือสามารถตั้งภายหลังส่งคำสั่งซื้อขายได้ครับ

 

การตั้ง Stop Loss ในโปรแกรมเทรด MT4/MT5

ข้อดีและข้อเสียของ Stop Loss (SL)

ข้อดีของ Stop Loss (SL)

  • จำกัดการขาดทุน

  • ลดโอกาสการโดนล้างพอร์ต

  • ป้องกันการปิดออเดอร์ที่เกิดจากอารมณ์และการตัดสินใจอย่างเร่งรีบ

ข้อเสีย Stop Loss (SL)

  • การตั้ง SL ใกล้จุดเข้าออเดอร์มากเกินไปอาจทำให้ถูกตัดขาดทุนได้ง่าย

  • SL ถูกใช้งานก่อนกำหนดเนื่องจากความผันผวนของตลาดในระยะสั้น

  • บางแพลตฟอร์มอาจมีข้อจำกัดในการดำเนินการส่งคำสั่งในช่วงเวลาที่ตลาดมีความผันผวนสูง หรือเมื่อมีปัญหาทางเทคนิค ทำให้คำสั่งไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

 
[template]

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Stop Loss (SL)

Cut Loss คืออะไร?

     ▶ Cut Loss คือ การขายสินทรัพย์ออกไปในขณะที่ขาดทุนอยู่ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เทรดเดอร์ขาดทุนไปมากกว่าเดิมครับ

Stop Loss กับ Cut Loss ต่างกันอย่างไร?

     ▶ Cut Loss ปิดออเดอร์ด้วยการตัดสินใจของตัวเอง แต่ Stop Loss เป็นการปิดออเดอร์อัตโนมัติ โดยสามารถตั้งค่าล่วงหน้าไว้ได้

Stop Loss แตกต่างจาก Trailing Stop อย่างไร?

     ▶ Stop Loss เป็นคำสั่งที่ตั้งจุดคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามราคา แต่ Trailing Stop จะปรับตัวตามทิศทางราคาสินทรัพย์ โดยอาจจะเลื่อนขึ้นหรือลงเพื่อล็อกกำไร

 

สรุป Stop Loss คืออะไร?

Stop Loss (SL) เป็นคำสั่งปิดออเดอร์อัตโนมัติเพื่อป้องกันการขาดทุนเกินกำหนด การใช้ SL ช่วยให้เทรดเดอร์มีวินัยและสามารถวางแบบแผนในการเทรดได้ ซึ่งการตั้ง SL ไม่มีหลักการตายตัวและมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับสไตล์ของเทรดเดอร์ ที่จะนำมาใช้เพื่อช่วยให้การเทรดมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ

สำหรับการเทรด Forex นอกจากศึกษา Stop Loss (SL) และ Take Profit (TP) แล้ว ควรศึกษาปัจจัยทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐาน เช่น ข่าวเศรษฐกิจสังคมและการเมือง รวมถึงการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากมีความสำคัญต่อการเทรด Forex ทั้งหมดครับ

 

⚠️ ข้อมูลในบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาเชิญชวนหรือแนะนำการลงทุนแต่อย่างใด เนื่องจากการลงทุนทุกรูปแบบมีความเสี่ยง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ และเตรียมตัวให้พร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยการวางแผนและการศึกษาอย่างละเอียดจึงเป็นสิ่งสำคัญก่อนการตัดสินใจลงทุน ⚠️

--------------------------------------------------------

สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่ง ดังต่อไปนี้

อัปเดตข่าวสารการลงทุนในตลาด Forex : คลิกที่นี่

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมที่น่าใช้ : คลิกที่นี่

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ที่ควรระวัง : คลิกที่นี่

อ่านบทความเพิ่มเติม : FXBROKERSCAM