Forex คือ การโกง – แชร์ลูกโซ่จริงหรือไม่? ทำไมถึงเป็นช่องทางในการโกงให้แก่มิจฉาชีพ หลังจากที่มีข่าวสะเทือนวงการไป ก็ทำให้ผู้คนมากมายกลัวคำว่า “Forex” เป็นพิเศษ แต่แท้จริงแล้ว มันคืออะไรกันแน่ วันนี้ เราจะมาขยายความกันครับ
Forex หรือ FX ย่อมาจาก Foreign Exchange คือ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ ทุกที่ที่มีการแลกเปลี่ยนสกุลเงินย่อมหมายถึง Forex นั่นหมายความว่า แม้แต่การแลกเงินกับธนาคารหรือจุดแลกเงินต่าง ๆ ก็คือ Forex ครับ ทุกคนเริ่มเห็นกันแล้วใช่ไหมครับว่า จุดเริ่มต้นที่แท้จริงนั้นไม่เกี่ยวกับการโกงแต่อย่างใด
โบรกเกอร์ Forex คืออะไร ? มันก็คือ นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ให้บริการเกี่ยวกับค่าเงิน ซึ่งเราที่อยู่ในฐานะเทรดเดอร์ก็เข้ามาทำกำไรจากค่าเงินที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนโบรกเกอร์ก็ได้กำไรจากส่วนต่าง (Spread) หรือความถ่างของคู่สกุลเงินที่เราต้องการเทรด โดยค่า Spread จะถ่างมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์นั้น ๆ ทำให้มันกลายเป็นอีกหนึ่งในคุณสมบัติที่เทรดเดอร์จำนวนมากใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกโบรกเกอร์
โดยการจะเป็นโบรกเกอร์ได้นั้น จำเป็นต้องมีใบอนุญาตหรือการรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ และปฏิบัติตามกฎของหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งใบอนุญาตที่ว่านี้ ก็คือ สิ่งที่ใช้วัดความน่าเชื่อถือของแต่ละโบรกเกอร์ครับ
ใบอนุญาต Forex (Forex License หรือ Forex Regulator) คือ ใบรับรองความปลอดภัยที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของแต่ละประเทศ หากโบรกเกอร์หนึ่งได้รับใบรับรองจากหน่วยงานใด ก็จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานนั้น อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่าระดับความน่าเชื่อถือของใบอนุญาตจากทุกหน่วยงานจะเหมือนกัน เพราะเขตอำนาจการควบคุม ตลอดจนการตรวจกรองต่าง ๆ จะส่งผลต่อความแข็งแกร่งของใบอนุญาตนั้น ๆ นักลงทุนจึงควรเลือกโบรกเกอร์ที่ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือนั่นเองครับ
ดังนั้น ใบอนุญาตโบรกเกอร์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อทั้งโบรกเกอร์และนักลงทุนเอง เนื่องจากใบอนุญาตของโบรกเกอร์บ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือและยังถือเป็นสิ่งรับประกันถึงความปลอดภัยอีกด้วย
รู้หรือไม่ ! หากโบรกเกอร์ที่เราเทรดอยู่เกิดมีข้อพิพาทหรือปิดตัว หน่วยงานกำกับดูแลเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและชดเชยผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่สูญเสียไป |
ในการประเมินความน่าเชื่อถือของใบอนุญาต Forex มีการแบ่งระดับหลายแบบ ซึ่งในวันนี้ เราจะแบ่งระดับตามขอบเขตอำนาจ ดังนี้
ตลาดหลัก คือ ตลาดที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุด ดังนั้น หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศเหล่านี้จึงมีความเข้มงวดค่อนข้างมาก หน่วยงานตัวอย่าง เช่น Commodity Futures Trading Commission (CFTC), National Futures Association (NFA) และ Swiss Financial Market Supervisory Authority (FINMA) เป็นต้น
อันดับต่อมา คือ หน่วยงานที่มีข้อกำหนดด้านเงินทุนและการรายงานที่ต่ำกว่าตลาดหลัก โดยมีตัวอย่างหน่วยงาน เช่น Financial Conduct Authority (FCA) และ Australian Securities and Investments Commission (ASIC)
เขตอำนาจระดับ C ประกอบด้วยหน่วยงานกำกับดูแลที่ให้ความคุ้มครองในระดับหนึ่งแก่ลูกค้าของบริษัทนายหน้า โดยกำหนดให้โบรกเกอร์ต้องมีสำนักงานอยู่ในท้องถิ่นที่มีการกำกับดูแล แต่ไม่ต้องรายงานละเอียดเหมือนประเทศข้างต้น หน่วยงานตัวอย่าง เช่น Securities and Exchange Commission (CySEC), Financial Markets Authority (FMA) และ Malta Financial Services Authority (MFSA)
สุดท้าย คือ เขตอำนาจของประเทศหมู่เกาะ ซึ่งในบริบทของตลาด Forex เป็นเขตอำนาจที่อยู่นอกศูนย์กลางทางการเงินแบบดั้งเดิมของโลก นั่นหมายความว่า กฎหมายทางการเงินไม่ได้รับการพัฒนาดีเท่าเขตอำนาจอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ดี มันไม่ได้แย่อย่างที่คิดมากนัก เพราะหน่วยงานเหล่านี้ได้รับแรงกดดันจากหน่วยงานกำกับดูแลใหญ่ ๆ ให้ยอมรับกฎหมายการเงินระหว่างประเทศและเงื่อนไขที่รัดกุมขึ้น
โดยหน่วยงานตัวอย่าง คือ British Virgin Islands Financial Services Commission (BVIFSC), Saint Vincent and the Grenadines Islands Financial Regulatory Authority (SVGFSA) และ International Financial Services Commission (IFSC)
ใบอนุญาตทั้งหมดนี้ มาจากหน่วยงานกำกับดูแลที่มีชื่อเสียงลดหลั่นระดับกันไป ทุกท่านสามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมหรือความพึงพอใจ อย่างไรก็ดี หน่วยงานกำกับดูแลก็ไม่ใช่ทั้งหมดแต่อย่างใด เพราะยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกเช่นกันครับ ขอให้เป็นเพียงโบรกเกอร์ที่สามารถลงทุนได้จริง ไม่ใช่ลูกโซ่ก็เพียงพอครับ
ทางทีมงาน FXbrokerscam ได้รวบรวม 9 โบรกเกอร์เทรด Forex ที่น่าเชื่อถือ มาให้เทรดเดอร์ใช้ในการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ Forex ที่ดีที่สุดของตัวคุณครับ โดยโบรกเกอร์ที่ทางทีมงานคัดสรรมานั้น ใช้เกณฑ์การพิจารณาจากใบอนุญาต, แพลตฟอร์มที่ใช้ในการเทรด, ประเภทบัญชี, ค่า Spread , ค่าธรรมเนียม และจุดเด่น-จุดด้อยซึ่งแต่ละโบรกเกอร์จะมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
IUX เป็นโบรกเกอร์ที่ค่อนข้างมาแรงในประเทศไทย เพราะโดดเด่นเรื่องค่า Spread ที่ต่ำ และบริการด้านฝากถอนที่ค่อนข้างรวดเร็ว โดย IUX มีบริษัทดำเนินงาน โดย IUX Markets Limited ก่อตั้งเมื่อปี 2016 IUX ยังได้รับใบอนุญาตจาก Financial Sector Conduct Authority (FSCA) ประเภท FSP (Financial Services Provider) หมายเลขใบอนุญาต: 53103 รวมทั้งได้รับใบอนุญาต Financial Services Authority St. Vincent and the Grenadines (SVGFSA) หมายเลขใบอนุญาต: 26183
IUX มีค่า Spread เริ่มต้นที่ 0.0 Pip - 0.5 Pips ไม่มีค่าคอมมิชชันและ Free Swap ซึ่ง IUX มีประเภทบัญชี 4 บัญชี โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
จุดเด่น | จุดด้อย |
---|---|
|
|
Swissquote เป็นธนาคารชั้นนำของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของ Swissquote Group Holding Ltd จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซูริค ก่อตั้งขึ้นในปี 1996 โดยให้บริการครอบคลุมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างกองทุน หุ้น ผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ พันธบัตร ฟอเร็กซ์ CFD และสกุลเงินดิจิทัล
CFDX
MetaTrader 4
MetaTrader 5
Swissquote App Trade
Swissquote มีค่า Spread เริ่มที่ 1.1 Pips - 1.7 Pips และไม่มีค่าคอมมิชชัน โดย Swissquote มี 4 บัญชี ได้แก่
จุดเด่น | จุดด้อย |
---|---|
|
|