List of content

Amortization คืออะไร? ทำไมเทรดเดอร์ในตลาด Forex ต้องรู้จัก


Amortization คืออะไร ?

Amortization คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรในตลาด Forex สำหรับการลงทุนในตลาด Forex การบริหารความเสี่ยงถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากครับ โดย Amortization เป็นแนวคิดทางด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับการชำระหนี้และอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ที่ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับการเทรด Forex โดยตรง แต่จะช่วยให้เทรดเดอร์มีความรู้ทางด้านการเงินโดยรวมมากขึ้นและเป็นทักษะที่ช่วยลดความเสี่ยงในโลกของการลงทุนได้เป็นอย่างดี  

Amortization คืออะไร?

 

Amortization คืออะไร?

Amortization คือแนวทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการชำระหนี้ โดยมีการชำระทีละน้อยไปเรื่อย ๆ โดย Amortization หรือการตัดจำหน่ายเป็นเทคนิคทางบัญชีที่ใช้ลดราคาตามบัญชีของเงินกู้หรือสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนเป็นระยะ ๆ ในช่วงเวลาที่กำหนด หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่า “แนวทางการชำระเงินแบบค่อยเป็นค่อยไป” ครับ

 

ประเภทของ Amortization มีอะไรบ้าง?

การแยกประเภทของ Amortization หรือการตัดจำหน่ายจะแบ่งตามบริบททางการเงิน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามแนวทางของบริษัทหรือองค์กรนั้น ๆ โดยจะมีการปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ทางการเงิน นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ด้วยครับ เช่น ประเภทของเงินกู้, เป้าหมายทางการเงิน และข้อตกลงระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ด้วย 

โดยจะแบ่งประเภทของ Amortization หลัก ๆ ได้ ดังนี้

1.การตัดจำหน่ายแบบเส้นตรง 

เป็นการตัดจำหน่ายโดยจัดสรรจำนวนเท่ากันเพื่อชำระคืนเงินต้นในแต่ละงวด ซึ่งจะเป็นการลดในส่วนของดอกเบี้ยเป็นหลัก แต่เงินต้นยังคงที่

2. การตัดจำหน่ายรายปี

เป็นการตัดจำหน่ายแบบรายปี ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะแบ่งชำระเงินเท่ากันในทุกปี โดยการจ่ายเงินแบบนี้จะครอบคลุมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 

3. การตัดจำหน่ายแบบแบ่งชำระเงินต้นเป็นงวด ๆ

เป็นการรักษาจำนวนเงินที่ต้องชำระทั้งหมดในคงที่ตลอดระยะเวลาที่กู้ ส่วนดอกเบี้ยจะลงเมื่อเวลาผ่านไป และการชำระคืนเงินต้นจะเพิ่มขึ้น

4. การตัดจำหน่ายเมื่อครบอายุเงินกู้

การตัดจำหน่ายแบบนี้จะครอบคลุมเฉพาะดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาเงินกู้ และเงินต้นทั้งหมดจะชำระคืนเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาเงินกู้

5. การตัดจำหน่ายยอดคงเหลือที่ลดลง

เป็นการตัดจำหน่ายตามยอดคงเหลือ โดยคิดตามเปอร์เซ็นต์คงที่กับยอดคงเหลือ ทำให้เมื่อเงินต้นลดลง ดอกเบี้ยก็จะลดลงด้วยเช่นกัน ทำให้การชำระเงินทั้งหมดลดลงทีละน้อย

6. การตัดจำหน่ายยอดติดลบ

การตัดจำหน่ายแบบนี้จะใช้สำหรับยอดคงค้างจากการชำระเงินไม่เพียงพอ ทำให้ยอดคงค้างของสินเชื่อเพิ่มขึ้น และนำไปสู่ยอดหนี้ที่ต้องชำระที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

ความสำคัญของ Amortization มีจุดประสงค์อย่างไร?

ถึงแม้ว่าแนวคิด Amortization จะไม่มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับการเทรด Forex แต่แนวคิดทางการเงิน Amortization ก็มีความสำคัญในการวางแผนและลดความเสี่ยงในโลกของการลงทุนครับ นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญและจุดประสงค์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น

  • ใช้ในการทยอยแบ่งการชำระหนี้เป็นส่วน ๆ

  • ช่วยกระจายต้นทุนการกู้ยืมโดยดอกเบี้ยส่วนใหญ่ที่ชำระในช่วงต้นของระยะเวลาเงินกู้ จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อมีการชำระคืนเงินต้น 

  • สามารถวางแผนเงินกู้หรือจำนองในระยะเวลาที่กำหนด

  • จัดการโครงสร้างเงินกู้และวิธีชำระเงินทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย

  • วิเคราะห์การตัดยอดคงค้างให้ลดลงอย่างเป็นระบบ

  • สามารถคาดการณ์และกำหนดการชำระหนี้ให้สำหรับผู้กู้ได้ง่าย

  • ทำให้ง่ายต่อการจัดทำงบประมาณและวางแผนสำหรับข้อผูกพันทางการเงินในอนาคต

การตัดจำหน่ายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจหรือผู้ลงทุนเข้าใจถึงต้นทุนเมื่อเวลาผ่านไป ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้นักลงทุนเห็นถึงรายได้ที่แท้จริงของบริษัทหรือองค์กรอีกด้วยนะครับ นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนเพื่อวิเคราะห์ยอดหนี้ในอนาคตหลังจากการชำระเงินกู้ จะเห็นได้ว่าแค่รู้แนวคิดเกี่ยวกับ Amortization ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้กับการลงทุนหลายรูปแบบครับ

 

ค่าตัดจำหน่ายและค่าเสื่อมราคาแตกต่างกันอย่างไร?

 

ค่าตัดจำหน่าย (Amortization) และค่าเสื่อมราคา (Depreciation) แตกต่างกันอย่างไร?

นอกจากค่าตัดจำหน่ายที่เป็นคำคุ้นหูของนักลงทุนแล้ว ยังมีอีกหนึ่งคำที่มักจะมาพร้อมกันเสมอ นั่นก็คือคำว่า "ค่าเสื่อมราคา (Depreciation)" โดยค่าตัดจำหน่าย (Amortization) และค่าเสื่อมราคา (Depreciation) เป็นแนวคิดที่มีความคล้ายกันครั้บ ทั้งสองแนวคิดจะลดมูลค่าของสินทรัพย์เมื่อเวลาผ่านไป แต่อย่างไรก็ตาม ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างค่าตัดจำหน่ายและค่าเสื่อมราคาคือ การตัดจำหน่าย (Amortization) จะใช้สำหรับสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน ในขณะที่ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) จะใช้สำหรับสินทรัพย์ที่มีตัวตนนั่นเอง

โดยตัวอย่างของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ได้แก่ เครื่องหมายการค้า, สิทธิบัตร และซอฟต์แวร์ เป็นต้น ส่วนสินทรัพย์ที่มีตัวตน ได้แก่ อุปกรณ์, อาคาร, ยานพาหนะ และทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีการสึกหรอทางกายภาพ 

 

ตารางเปรียบเทียบค่าตัดจำหน่าย (Amortization) และค่าเสื่อมราคา (Depreciation)

 

รู้หรือไม่ ? ค่าตัดจำหน่าย (Amortization) และค่าเสื่อมราคา (Depreciation) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุนในกิจการนั้น ๆ ด้วย หากใครกำลังจะเลือกลงทุนในกิจการต่าง ๆ อย่าลืมพิจารณาในส่วนนี้ักันด้วยนะครับ



ความเกี่ยวข้องของ Amortization และการเทรด Forex

แม้ว่าการเทรด Forex จะไม่เชื่อมโยงโดยตรงกับแนวคิด Amortization เพราะการเทรด Forex เป็นการแลกเปลี่ยนสกุลเงินจากสกุลเงินหนึ่งไปยังอีกสกุลเงินหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถนำแนวคิด Amortization ไปใช้กับการเทรดสกุลเงินโดยตรงได้ แต่แนวคิด Amortization มีความเกี่ยวข้องกับการเทรด Forex ในด้านของกิจกรรมการเทรด เพราะหลักการในการเทรดคือการทำกำไรจากการผันผวนของราคาและอัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างคู่สกุลเงิน โดยหลักการของการชำระหนี้แบบค่อยเป็นค่อยไปและการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยก็ส่งผลกระทบต่อตลาดสกุลเงินโลกได้ หรือจะเรียกได้ว่าการตัดจำหน่ายทำหน้าที่เป็นฉากหลังทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อภาวะเศรษฐกิจนั่นเอง

 โดยปัจจัยที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากแนวคิด Amortization มีดังนี้

1. อัตราดอกเบี้ยในตลาด Forex

อัตราดอกเบี้ยเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ได้รับผลกระทบจากแนวคิด Amortization โดยเทรดเดอร์จะต้องมีการนำแนวคิดมาปรับใช้เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การเทรดที่เหมาะกับสถานการณ์ของตลาด ณ ขณะนั้นครับ โดยสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยในตลาด Forex มีดังนี้

  • การเทรดแบบ Carry Trade : เทรดเดอร์สามารถเพิ่มโอกาสจากการใช้กลยุทธ์ Carry Trade โดยการกู้ยืมจากสกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำมาลงทุนในสกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงได้ครับ
  • ค่าสกุลเงินต่าง ๆ : ค่าสกุลเงินจะได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราดอกเบี้ย โดยหากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น จะส่งผลให้นักลงทุนนำเงินเข้ามาลงทุนมากขึ้น และค่าเงินจะแข็งขึ้น แต่ในทางตรงข้าม หากอัตราดอกเบี้ยลดลง จะส่งผลให้การลงทุนจากต่างประเทศน้อยลง ทำให้ค่าเงินอ่อนลงและเกิดการเสื่อมราคานั่นเองครับ
  • ธนาคารกลาง : การปรับเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยเป็นผลมาจากการตัดสินใจของธนาคารกลาง โดยจะอิงตามการหารือต่าง ๆ โดยหากมีการประกาศการปรับขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารจะส่งผลให้ตลาดมีการเคลื่อนไหวตามไปด้วย

2. การติดตามเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ

การตัดจำหน่ายจะใช้วิธีการประเมินเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเพื่อคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของตลาดและปรับความเสี่ยงตามข้อมูลกลยุทธ์การชำระหนี้ 

3. การกระจายความเสี่ยง

การตัดจำหน่ายที่เป็นการกระจายการชำระเงินเมื่อเวลาผ่านไป ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับหนี้ที่กระจุกตัว ซึ่งคล้ายกับเทรดเดอร์ที่มีการกระจายการเทรดในหลายคู่เงินหรือหลายสินทรัพย์เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน รวมทั้งยังถือเป็นการเพิ่มความหลากหลายของการลงทุนเช่นเดียวกัน

4.  Leverage และ Margin

แม้ว่าการคำนวณ Margin หรือการใช้ Leverage ในการเทรดจะไม่เชื่อมโยงโดยตรงกับการตัดจำหน่าย แต่แนวคิดนี้สะท้อนถึงความจำเป็นด้านความมั่นคงทางการเงินและการบริหารความเสี่ยงอย่างมีความรับผิดชอบ โดยการชำระคืนที่มีโครงสร้างซึ่งอยู่ในการตัดจำหน่าย จะเหมือนกับการใช้ Leverage และ Margin เพื่อให้เทรดเดอร์มั่นใจได้ว่าสามารถเงินให้ครอบคลุมการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้

5. การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด

การทบทวนและปรับเปลี่ยนระยะในการตัดจำหน่ายเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและมั่นใจได้ว่าจะสามารถชำระหนี้ต่อไปได้ คล้ายกับการปรับกลยุทธ์การเทรดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดและบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

อย่างที่กล่าวไปว่า Amortization อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเทรด Forex โดยตรง แต่การทำความเข้าใจเรื่องนี้จะช่วยให้การเทรดของคุณประสบความสำเร็จมากขึ้น 

 

การคำนวณ Amortization หรือการตัดจำหน่ายในการเทรด Forex

ในการคำนวณการตัดจำหน่ายสำหรับการเทรด Forex อาจจะไม่สามารถคำนวณเหมือนกับการกู้ยืมหรือการลงทุนอื่น ๆ โดยตรง แต่สามารถคำนวณโดยอ้างถึงต้นทุนการซื้อขายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งได้ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบสะสมของต้นทุนการซื้อขายโดยรวม

การซื้อขายในตลาด Forex จะเป็นการทำกำไรจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่เทรดเดอร์ต้องเสีย ไม่ว่าจะเป็นค่าสเปรด, ค่าคอมมิชชัน, ค่า Swap และค่าธรรมเนียมการใช้บริการอื่น ๆ ซึ่งสามารถคำนวณ Amortization ได้ โดยจะคำนวณจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาที่เทรดเดอร์ทำการเทรดครับ

ตัวอย่างสูตรการคำนวณ

 ต้นทุนการซื้อขายทั้งหมด = สเปรดทั้งหมดที่จ่าย + ค่าคอมมิชชันทั้งหมดที่ชำระ

 

ต้นทุนการเทรดจะส่งผลโดยตรงกับกำไรที่เทรดเดอร์จะได้รับ ดังนั้นหากเทรดเดอร์ต้องการเพิ่มโอกาสในการทำกำไรสามารถเลือกใช้วิธีการลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นค่าสเปรด, ค่าคอมมิชชัน หรือค่า Swap โดยสามารถเลือกโบรกเกอร์ที่ไม่มีค่าธรรมเนียมเหล่านี้ ซึ่งตามหลักการของแนวคิด Amortization จะสามารถนำมาปรับใช้ได้ในทางอ้อม เพื่อให้เข้าใจถึงต้นทุนที่เทรดเดอร์ต้องรับผิดชอบ และการจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ครับ 

สำหรับเทรดเดอร์ที่กำลังมองหาโบรกเกอร์ที่ดีที่สุด ที่สามารถตอบโจทย์ได้หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือ, สเปรดต่ำ, ค่าคอมมิชชันต่ำ, หรือไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการถืออเดอร์ข้ามคืน (Swap) ทางทีมงานได้รวบรวมรายชื่อโบรกเกอร์ที่น่าสนใจและตรงตามเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณามา ดังนี้

1. IUX Markets

จุดเด่น

  • สเปรดบัญชี Standard เริ่มต้น 0.2 pips
  • เลเวอเรจสูงสุด 1:3000
  • ฟรีค่าธรรมเนียมในการถือออเดอร์ข้ามคืน (Swap)
  • ไม่มีค่า Commission ทุกประเภทบัญชี ยกเว้นบัญชี Raw
  • ฟรีโบนัสต้อนรับ $30 และโบนัสเงินฝาก 35% กับ 25%

2. IC Markets

จุดเด่น

  • สเปรดบัญชี Standard เริ่มต้น 0.8 pips
  • เลเวอเรจสูงสุด 1:1000
  • บัญชีฟรีค่าธรรมเนียมในการถือออเดอร์ข้ามคืน (Swap) เฉพาะผู้นับถืออิสลาม
  • ไม่มีค่า Commission สำหรับบัญชี Standard

3. Eightcap

จุดเด่น

  • สเปรดบัญชี Standard เริ่มต้น 1.0 pips
  • เลเวอเรจสูงสุด 1:500
  • ไม่มีค่า Commission สำหรับบัญชี Standard และ TradingView

 

ข้อดีข้อเสียของ Amortization ในการเทรด Forex

ข้อดีของ Amortization

  • มีการชำระคืนแบบมีโครงสร้างและมีระเบียบ

  • มีวินัยทางการเงินและการกู้ยืมอย่างมีความรับผิดชอบ

  • สามารถคาดการณ์การชำระเงินคืนได้

  • ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินผ่านการกระจายการชำระ

ข้อเสียของ Amortization

  • ความเข้มงวดในการชำระคืน ขาดความยืดหยุ่น

  • มีการเปลี่ยนแปลงตามความอ่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย

  • การจ่ายหนี้ทีละน้อย จะช่วยให้หนี้ลดลง แต่ก็ทำให้โอกาสในการทำกำไรลดลงได้เช่นกัน

  • ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคงจะส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้ได้ 

 

สรุป Amortization คืออะไร?

สำหรับการตัดจำหน่ายอาจจะไม่ได้เชื่อมโยงกับการเทรด Forex โดยตรง แต่ไม่ว่าจะเป็นการเทรด Forex หรือ Amortization ก็สามารถใช้แนวคิดที่คล้ายกันได้ เพื่อสร้างโอกาสในการทำตามเป้าหมาย และลดโอกาสในการเกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เป้าหมายไม่สำเร็จ โดยทั้งสองอย่างจะต้องมีความสมดุลกัน

ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทางด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับการชำระหนี้และอัตราดอกเบี้ยสามารถช่วยเพิ่มความรู้ทางด้านการเงินโดยรวมของเทรดเดอร์ได้ นอกจากนี้ การนำแนวคิดมาปรับใช้กับการเทรด Forex จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามเป้าหมายการเทรดที่วางไว้ โดยการเลือกโบรกเกอร์ที่มีค่าสเปรดต่ำ, ไม่มีการเรียกเก็บค่าคอมมิชชัน และไม่มีการเรียกเก็บค่าถือออเดอร์ข้ามคืน (Swap) เพื่อควบคุมต้นทุนที่เกิดขึ้นและลดความเสี่ยงจากการใช้โบรกเกอร์ที่มีต้นทุนสูงเกินไปครับ

--------------------------------------------------------------------------

สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่ง ดังต่อไปนี้ 

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมที่น่าใช้ : คลิกที่นี่

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ที่ควรระวัง : คลิกที่นี่

อ่านบทความเพิ่มเติม : FXBROKERSCAM