ในโลกของการลงทุนที่มีทั้งความผันผวน โอกาส กำไร และขาดทุน ตราสารอนุพันธ์ (Derivative) จึงถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่นักลงทุนเลือกเข้ามาลงทุนเพื่อบริหารความเสี่ยงกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสามารถทำกำไรได้ทั้งตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง หลายคนอาจจะสงสัยว่าตราสารอนุพันธ์สามารถทำกำไรได้ทั้งสองสภาวะตลาดจริงไหม ? วันนี้ผมจะพาไปไขข้อสงสัยพร้อมกับเจาะลึกว่า ตราสารอนุพันธ์ (Derivative) คืออะไร ? และเสน่ห์ของการลงทุนในตลาดนี้คืออะไรกันในบทความนี้ครับ
ตราสารอนุพันธ์ (Derivative) คืออะไร ? |
ตราสารอนุพันธ์ หรือ Derivative คือ ตราสารทางการเงินที่มีมูลค่าอ้างอิงอยู่กับสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยมูลค่าของตราสารนั้นก็จะขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ถูกอ้างอิง เช่น ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงินต่าง ๆ เป็นต้น
ตราสารอนุพันธ์ (Derivative) มีกี่ประเภท ? |
ตราสารอนุพันธ์จะสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะและภาระผูกพันของแต่ละสัญญาโดยจะแบ่งได้ ดังนี้
สัญญาฟอร์เวิร์ด (Forward) คือ สัญญาที่ทำการซื้อ - ขายสินค้าที่ทั้ง 2 ฝ่ายทำการตกลงกัน ซึ่ง Forward จะเป็นสัญญาประเภทแรก ๆ ของตราสารอนุพันธ์ ทำให้ Forward จะมีความคล้ายคลึงกับ Futures แต่จะมีข้อแตกต่างตรงที่ Futures จะเป็นสัญญาที่มีความเป็นทางการมากกว่าและอยู่ภายใต้หน่วยงานกำกับดูแลครับ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) คือ สัญญาการซื้อขายประเภทหนึ่ง โดยลักษณะพิเศษของสัญญาประเภทนี้คือผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลงซื้อ - ขาย สินทรัพย์ที่อ้างอิงภายในระยะเวลาและราคาที่กำหนด โดยฝั่งผู้ซื้อสัญญาจะมีสถานะซื้อ (Long Position) ส่วนฝั่งผู้ขายสัญญาจะมีสถานะขาย (Short Position) โดยสัญญา Futures จะมีความเป็นทางการและมีรูปแบบสัญญาที่ค่อนข้างแน่นอน
สัญญาสวอป (Swap) คือ สัญญาทางการเงิน พูดง่าย ๆ ก็คือ เอาเงินมาแลกเปลี่ยนกันนั่นเองครับ โดยการทำสัญญาประเภทนี้คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย จะทำการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดหรือผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ทำการอ้างอิงกันในอนาคต สัญญา Swap ที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
Interest Rate Swap คือ สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ที่ทั้ง 2 ฝั่งจะจ่ายอัตราดอกเบี้ยในรูปแบบที่ต่างกัน คือ ฝ่ายหนึ่งจะจ่ายอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่แต่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว และอีกฝ่ายจะจ่ายดอกเบี้ยแบบลอยตัวและจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราคงที่
Currency Swap คือ สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยจะทำกำไรจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างสกุลเงินทั้ง 2 สกุลเงิน หรือทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนครับ
สัญญาออปชัน (Option) หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ “สัญญาสิทธิ” เป็นสัญญาที่ผู้ซื้อจะได้รับสิทธิในการซื้อ - ขาย สินทรัพย์ที่อ้างอิงตามราคาที่ได้ทำการกำหนดไว้ล่วงหน้าครับ โดยสัญญาประเภทนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
Call Option คือ สิทธิในการซื้อ
Put Option คือ สิทธิในการขาย
ตราสารอนุพันธ์ (Derivative) ซื้อขายผ่านช่องทางไหนได้บ้าง ? |