List of content

เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะ ‘Stagflation’ หรือยัง ?


เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะ ‘Stagflation’ หรือยัง ?

ประเด็นใหญ่สำหรับเศรษฐกิจในประเทศไทยบ้านในช่วงนี้คงนี้ไม่พ้น ‘ภาวะเงินเฟ้อ’ ที่สูงมากขึ้นจนทำสถิติสูงที่สุดในรอบ13ปี โดยกระทรวงพาณิชย์ออกมาอัตราเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมว่าาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.28%ซึ่งตัวเลขที่เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.23%  ในเดือนมกราคม นับว่าเป็นระดับเงินเฟ้อที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปีนับตั้งแต่ปี 2551 เลยทีเดียวครับ จากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนี้ สร้างความกังวลว่าเศรษฐกิจไทยจะเกิดภาวะ ‘Stagflation’ ขึ้น ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 1970 นั้น วันนี้เราจะมาอธิบายความหมายและจริงหรือไม่ที่เศรษฐกิจประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ภาวะ Stagflation

Stagflation คือ

ภาวะ Stagflation คืออะไร ?

Stagflation คือ ภาวะที่เศรษฐกิจที่เกิดปัญหาเงินเฟ้อ และเกิดพร้อมกับภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและมีอัตราการว่างงานสูง  

Stagflation ที่มาจาก 2 คำระหว่าง “Stagnation” และคำว่า “Inflation”  โดยปกติภาวะ “Stagflation” จะเกิดขึ้นในภาวะเศรษฐกิจขาดแคลนอาหารหรือข้าวยากหมากแพง  ซึ่งที่กล่าวไปข้างต้นครับว่าในปี 1970 นั้นมีการเกิดภาวะของ Stagflation   ปัจจัยมาจากราคาสินค้ากลุ่มโภคภัณฑ์ปรับสูงมากขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และอีกสาเหตุอื่นๆ อย่างเช่นดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเทศสหรัฐฯ

โดยทั่วไประหว่างอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) กับ อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) จะสัมพันธ์กันในลักษณะที่ตรงกันข้ามกัน โดยความหมายว่า 

หากเงินเฟ้อสูง = อัตราว่างงานจะต่ำ (เศรษฐกิจจะขยายตัว)

หากเงินเฟ้อต่ำ = อัตราว่างงานจะสูง (เศรษฐกิจจะชะลอตัว)

และถ้าหากไม่มีภาวะ Stagflation นั้นการแก้ปัญหาเงินสูงจะทำได้โดยการทำให้เงินเฟ้อลดลงด้วยนโยบายการเงินของธนาคารกลาง และแก้ปัญหาอัตราว่างงานสูงด้วยการกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน นั่นหมายความว่าตามปกติแล้วการแก้ปัญหาด้วยทางใดทางหนึ่งจะทำให้อีกทางเลือกแย่ลงอยู่ดีครับ

แต่อย่างที่กล่าวไปแล้วนะครับว่า Stagflation คือการที่ทั้งสองปัญหาควรตรงข้ามกัน แต่ผลลัพธ์นั้นกลับแย่ทั้งคู่ ซึ่งถึงแม้ว่าเงื่อนไขของเงินเฟ้อก็จะพบว่าไม่ว่าจะแก่ด้วยวิธีใดก็ตามต้องยอมแลกกับผลที่ตามมา 

แม้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศไทยนั้นจะไม่ได้เกิดความเสียหายจากภาคการผลิต  แต่เกิดจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น จะเห็นได้จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในแทบทุกวันในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ถึงจะไม่ได้เป็นการขาดแคลนด้านพลังงานจนส่งต่อภาคการผลิต แต่หากมองในระยะยาวต้องลองนึกภาพหากราคาพลังงานหรือน้ำมันยังปรับตัวสูงขึ้นเวลานาน สุดท้ายก็จะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต เพราะไม่สามารถแบกรับต้นไม่ได้ และหยุดการผลิต และเมื่อไหร่ที่คนผลิตน้อยลง รายได้ของผู้คนก็น้อยลงไปด้วย บวกกับราคาสินค้าที่แพงขึ้น ก็จะทำให้คนใช้จ่ายน้อยลงและประหยัดขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อภาคการบริโภคที่จะมีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ สุดท้ายปัญหาก็จะวนอยู่อย่างนี้และยากที่จะแก้ไขครับ 

อย่างไรก็ตามเราต้องคอยติดตามการแก้ไขปัญหาของพลเอก ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยเรา ว่าจะมีการรับมือกับภาวะเงินเฟ้อและราคาสินค้าที่เริ่มปรับตัวแพงขึ้นนี้อย่างไร เพื่อไม่ให้ประเทศเจอกับสถานการณ์ที่ยากลำบากไปมากกว่านี้