List of content

ตะวันตกคว่ำบาตรลงโทษรัสเซียอย่างไร?


ตะวันตกคว่ำบาตรลงโทษรัสเซียอย่างไร?

หลังจากเมื่อวันจันทร์ที่ 21 ก.พ. 2565 ‘วลาดิเมียร์ ปูติน’ ปธน.รัสเซียออกมาทำการเซ็นยอมรับแบ่ง2รัฐ นั้นคือ สาธารณรัฐโดเนตสก์ (DPR) และสาธารณรัฐลูฮานสก์ (LPR)

นั้นหมายความว่า รัสเซียจะยอมรับทั้ง DPR และ LPR เป็นรัฐอิสระไม่ใช่ส่วนหนึ่งของยูเครนอีกต่อไป พร้อมกับการสั่งกองทัพทหารเข้าไปประจำการรักษาพื้นที่ในดินแดง 2 แห่ง โดยอ้างว่าเพื่อรักษาความสงบ 

ล่าสุดก็มีหลายชาติตะวันตกและพันธมิตรซึ่งรวมถึงสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย แคนาดา และญี่ปุ่น ได้ออกมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย หลังเหตุการณ์นี้ 

โดย โจ ไบเดน ปธน.ของสหรัฐฯ แถลงที่ทำเนียบขาวโดยประณามการกระทำของรัสเซียว่า “เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างโจ่งแจ้ง" และกล่าวอีกว่ารัสเซียไม่มีสิทธิรับรองเอกราชให้แก่รัฐใดๆ ซึ่งเป็นการกระทำเช่นนี้เท่ากับโจมตี "สิทธิในการดำรงอยู่" ของประเทศยูเครน

และเพิ่มเติมว่าจุดยืนของปธน.รัสเซียนั้น แสดงให้เห็นถึงการเพิกเฉยและเมินต่อการเจรจาทางการทูต ซึ่งทำให้สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรร่วมมือกันอย่างแข็งขันยิ่งขึ้น เพื่อต่อต้านการรุกรานของรัสเซียและคุ้มกันเหล่าพันธมิตรนาโต

สหรัฐฯได้คว่ำบาตรเงินกู้ภาครัฐที่ให้แก่รัสเซีย รวมทั้งคว่ำบาตรสถาบันการเงินใหญ่ของรัสเซียสองแห่ง และเตรียมคว่ำบาตรบรรดาชนชั้นนำและครอบครัว โดยจะรวมถึงเหล่าสมาชิกรัฐสภาของรัสเซียที่ออกเสียงสนับสนุนการกระทำของปธน.รัสเซียครั้งนี้ด้วย นี่เป็นมาตรการคว่ำบาตรแบบเดียวกับของสหภาพยุโรป และนอกจากนี้แล้ว ชาติตะวันตกอาจะจะมีแผนดำเนินมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียเพิ่มเข้าอีก ได้แก่ 

ข้อจำกัดทางการเงิน

คือการตัดรัสเซียออกจากระบบจ่ายเงินระหว่างประเทศที่เรียกว่า Swift ซึ่งเป็นระบบที่สถาบันการเงินหลายพันแห่งใช้ในกว่า 200 ประเทศ ซึ่งจะทำให้ธนาคารรัสเซียทำธุรกิจในต่างประเทศได้ยากมาก ยกตัวอย่างกรณีในอิหร่าน ที่เคยถูกมาตรการนี้มาแล้วในปี 2012 ต้องสูญเสียรายได้จากการค้าน้ำมันมูลค่ามหาศาล และเกิดความเสียหายครั้งใหญ่ต่อการค้ากับต่างประเทศ

ห้ามทำธุรกรรมเป็นดอลลาร์สหรัฐ

สหรัฐฯ อาจใช้วิธีตัดรัสเซียออกจากการทำธุรกรรมทางการเงินที่ต้องใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนี่หมายความว่า หากบริษัทสัญชาติตะวันตกใดยอมให้สถาบันการเงินของรัสเซียทำธุรกรรมทางการเงินโดยใช้เงินดอลลาร์ ก็จะต้องได้รับบทลงโทษ

มาตรการนี้จะทำให้มีข้อจำกัดอย่างมาก ในการซื้อ-ขายสินค้าทั่วโลก และจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจรัสเซีย เนื่องจากการค้าน้ำมันและก๊าซส่วนใหญ่ใช้เงินดอลลาร์

ตลาดตราสารหนี้นานาชาติ

ชาติมหาอำนาจตะวันตกอาจดำเนินมาตรการสกัดกั้นไม่ให้รัสเซียเข้าถึงตลาดตราสารหนี้ระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีการควบคุมความสามารถของสถาบันการเงินและธนาคารในประเทศตะวันตกในการซื้อตราสารหนี้ของรัสเซียอยู่แล้ว แต่อาจมีการกำหนดให้ข้อจำกัดนี้มีความเข้มงวดยิ่งขึ้น

มาตรการนี้จะลดทอนโอกาสที่รัสเซียจะเข้าถึงเงินทุนที่ต้องใช้ในการขับเคลื่อนและสร้างความเติบโตให้เศรษฐกิจของประเทศ

นอกจากนี้ ต้นทุนการกู้ยืมเงินของรัสเซียอาจเพิ่มสูงขึ้น และเงินรูเบิลอาจมีมูลค่าลดลงอีกด้วย

ควบคุมการส่งออกสู่รัสเซีย

ชาติตะวันตกอาจใช้วิธีจำกัดการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญไปยังรัสเซีย โดยสหรัฐฯ อาจห้ามบริษัทต่าง ๆ ขายสินค้าที่มีเทคโนโลยีอเมริกัน เช่น ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่รัสเซีย  นี่อาจรวมถึงสินค้าประเภทชิปสารกึ่งตัวนำ (semiconductor chip) ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของสินค้ามากมาย ตั้งแต่ สมาร์ทโฟน เครื่องมือกล ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภค

มาตรการนี้ไม่เพียงจะมุ่งเป้าไปที่ภาคการทหาร รวมทั้งการบินและอวกาศของรัสเซีย แต่ยังจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของรัสเซียด้วย

ขึ้นบัญชีดำธนาคารรัสเซีย

สหรัฐฯ อาจใช้วิธีขึ้นบัญชีดำธนาคารรัสเซียบางแห่ง ซึ่งจะทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ใดในโลกจะสามารถทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารเหล่านี้ได้ รัฐบาลรัสเซียจะต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือธนาคารเหล่านี้ และจะทำทุกอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น และรายได้ลดลง อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้จะส่งผลเสียอย่างรุนแรงต่อนักลงทุนตะวันตกที่มีเงินอยู่ในธนาคารรัสเซียที่ถูกขึ้นบัญชีดำ

ควบคุมการส่งออกพลังงาน

เศรษฐกิจของรัสเซียต้องพึ่งพาการขายก๊าซและน้ำมันให้ต่างชาติ ยอดขายสินค้าประเภทนี้คือแหล่งรายได้หลักของรัฐบาลรัสเซีย ชาติตะวันตกอาจกำหนดให้การซื้อน้ำมันจากบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซียอย่างก๊าซพรอม (Gazprom) และรอสเนฟต์ (Rosneft) เป็นสิ่งผิดกฎหมาย

ความยากที่โลกตะวันตกเผชิญ

แม้ชาติตะวันตกได้วางแผนในการร่วมมือ และการใช้มาตรการคว่ำบาตรอย่างรุนแรงหากรัสเซียเข้ารุกรานยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ  นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่า รัสเซียอาจตรึงกำลังทหารไว้รอบยูเครนต่ออีกหลายเดือนเพื่อเป็นการข่มขู่

ในขณะที่เปิดการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อให้อีกฝ่ายอ่อนแอลง นักการทูตสหรัฐฯ และยุโรปต่างระบุว่า ชาติตะวันตกมีความเห็นพ้องต้องกันน้อยลงในสถานการณ์นี้ บางประเทศ ซึ่งมีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับรัสเซียมากกว่า เช่น ฮังการี อิตาลี และออสเตรีย อาจไม่ยอมใช้มาตรการคว่ำบาตร หากรัสเซียไม่ได้บุกยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ รัสเซียยังอาจบรรเทาผลกระทบจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกด้วยการหันไปพึ่งพาจีน และชาติพันธมิตรอื่น ๆ แทน

ประเด็นสำคัญที่สุดก็คือ การใช้มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงและได้ผลมากที่สุด มักมาพร้อมกับราคาอันสูงลิ่วที่ผู้บังคับใช้จะต้องจ่ายเป็นการแลกเปลี่ยน และใช่ว่าทุกประเทศในโลกตะวันตกยินยอมที่จะทำเช่นนี้