List of content

แก้ปัญหา The Great Depression อย่างไร?


แก้ปัญหา The Great Depression อย่างไร?

แก้ปัญหา The Great Depression อย่างไร?

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจปัญหาและที่มาของวิกฤต The Great Depression ก่อนนะครับ

The Great Depression คือวิกฤตที่สร้างความเสียให้แก่สหรัฐอเมริกาอย่างมหาศาล
เริ่มจากการที่ธนาคารหรือโบรกเกอร์ปล่อยให้นักลงทุนซื้อขายหุ้นแบบ Margin และเริ่มได้รับความนิยม จริงๆแล้วการซื้อหุ้นแบบ Margin พูดภาษาบ้านๆก็คือการยืมเงินธนาคารมาเล่นหุ้น ทำให้ตอนนั้นราคาดัชนี
Dow Jones ขึ้นไปถึง 25% ในระยะเวลาแค่ 6 เดือน นักลงทุนก็แห่กันเข้าไปลงทุนทำให้นักลงทุนและธนาคาร เฟื้องฟูไปตามๆกัน

จนกระทั้ง…. เกิดเหตุการณ์ “Black Tuesday” ในวันอังคารที่ 29 ตุลาคม ค.ศ.1929 ทำให้ดัชะนี Dow Jones ลดลงไปถึง 30% “ภายในวันเดียว” ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทั้งตัวนักลงทุนไปยังธนาคาร
นักลงทุนที่ขาดทุนจากดัชนีหุ้นที่ตกยังไม่พอ ยังต้องหาเงินมาจ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินที่นำมาซื้อหุ้นอีกด้วย จนทำให้เกิดการเบี้ยงหนี้ไม่ยอมจ่าย คนที่ซวยที่สุดคือ ธนาคาร ที่ปล่อยกู้ให้คนไปซื้อขายหุ้นง่ายๆ

“เมื่อธนาคารหมดความเชื่อมั่น”

แน่นอนครับ การเบี้ยวหนี้ไม่ยอมจ่ายส่งผลให้ธนาคารขาดทุน
เมื่อขาดทุนแล้ว ความเชื่อมั่นในธนาคารก็หมด คนก็แห่กันไปถอนเงินจากธนาคาร ซึ่งผมจะอธิบายระบบการทำงานของธนาคารให้คร่าวๆนะครับ
สมมติว่าธนาคารมีคนฝากเงินมา 1 ล้านบาท ธนาคารสามารถปล่อยกู้ได้มากถึง
10 ล้านบาทเลยทีเดียว ถามว่าเงินที่ปล่อยกู้เกินตัวขนาดนี้ไปปล่อยกู้ให้ใคร
ก็การซื้อหุ้นแบบ Margin ไงครับ
แต่ในเมื่อนักลงทุนไม่มีเงินไปใช้หนี้จนเกิดหนี้เสีย ธนาคารก็ไม่มีเงินให้ประชาชนที่แห่กันไปถอนเงิน
ทำให้ธนาคารเจ๊งจนต้องปิดตัวกันไปถึง 10,000 แห่ง

“ธนาคารเจ๊งแล้ว…เกิดอะไรต่อ”

เมื่อธนาคารเจ๊งแล้ว คนที่ฝากเงินไว้ก็ไม่สามารถถอนเงินออกมาได้
100% จากที่เคยฝากเอาไว้ ทำให้คนจำนวนมากไม่กล้าใช้เงิน
สินค้าที่ผลิตออกมาก็ขายไม่ออกจนเกิดอุปทานส่วนเกิด ผู้ผลิตก็ไม่มีเงินที่จะไปจ้างแรงงานทำให้
ส่งผลให้คนตกงานมากถึง 1 ใน 5 ของสหรัฐอเมริกาตกงาน
ไม่มีเงินแม้แต่จะเอาไปซื้ออาหาร

“Franklin Delano Roosevelt”

เขาได้เข้ามาแก้ปัญหาโดยใช้นโยบาย 3R โดยรัฐบาลจะมีบทบาทมากขึ้นในการแทรกแซงธุรกิจต่างๆและได้ทำการจัดตั้งหน่วยงานประกันสังคมและการว่างงาน
ทำให้คนจำนวนมากมีอะไรทำ โดยเน้นไปที่การช่วยเหลือกันและกัน นอกจากมีงานทำแล้วยังส่งผลดีต่อสาธารณประโยชน์ของชุมชนอีกด้วย
เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาทุกข์ไปพร้อมๆกันและรูสเวลได้จัดตั้งสำนักงานฟื้นฟูแห่งชาติ
หรือ NRA เพื่อกำหนดค่าแรงขั้นต่ำและชั่วโมงการทำงาน
เพื่อให้ไม่เป็นการขูดรีดแรงงานมากเกินไป นอกจากนี้ทางด้านภาคครัวเรือนที่ผลิตผลผลิตได้สนับสนุนราคาและการขายผลิตผลการเกษตร
โดยกำหนดราคาขั้นต่ำของสินค้า ในที่สุดเศษรฐกิจก็สามารถฟื้นตัวได้แต่ก็ไม่ถึงกับดีมาก
จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้มีการเกณฑ์ทหารการว่างงานจึงลดลงมาก