List of content

ค่าเงินแข็งค่าหรืออ่อนค่าเกิดจากอะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง


ค่าเงินแข็งค่าหรืออ่อนค่าเกิดจากอะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

ค่าเงินแข็ง ค่าเงินอ่อน คำ ๆ นี้เราคงจะได้ยินกันบ่อย ถ้าหากเราเป็นนักลงทุนที่กำลังลงทุนอยู่ในตลาดค่าเงิน แต่จริง ๆ แล้วค่าเงินแข็ง หรือค่าเงินอ่อน มีความหมายอย่างไร เกิดจากสาเหตุอะไร และส่งผลอย่างไรบ้าง เราจะมาเรียนรู้กันในวันนี้ครับ

 

เงินแข็งค่า-อ่อนค่า คืออะไร?

เงินแข็งค่า หรืออ่อนค่า คือ สภาวะอย่างหนึ่งของสกุลเงิน ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดสภาวะทั้ง 2 นี้ คือ อุปสงค์และอุปทานเป็นหลักครับ

 

สาเหตุที่ทำให้เงินแข็งค่า-อ่อนค่า

สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดสภาวะทั้ง 2 นี้ คือ อุปสงค์และอุปทานเป็นหลักครับ แต่อย่างไรก็ดี เราสามารถแบ่งปัจจัยที่ทำให้เกิการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินได้ดังนี้

 

การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

 

1. ดุลการค้าและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

ดุลการค่าของประเทศมีความเกี่ยวข้องกับค่าเงินโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น หากประเทศไทยมีมูลค่าของการส่งออกมากกว่าการนำเข้า นั้นหมายความว่า จะทำให้เงินทุนไหลเข้ามาภายในประเทศ และเงินทุนเหล่านี้เป็นสกุลเงินอื่น ๆ ดังนั้น จึงต้องเปลี่ยนสกุลเงินเหล่านี้ให้เป็นสกุลเงินบาท ความต้องการเงินบาทจึงมีเพิ่มมากขึ้น และมีความต้องการมากขึ้น เงินบาทก็จะมีมูลค่ามากขึ้น หรือแข็งค่าขึ้นนั่นเองครับ

 

อัตราดอกเบี้ย

 

2. อัตราดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่มีส่วนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของค่าเงินนั้น ๆ เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่กระทบต่อการตัดสินใจของนักลงทุน หากประเทศใด ๆ มีการปรับอัตราดอกเบี้ยน้อย นักลงทุนก็จะย้ายเงินทุนออก เพื่อไปลงทุนในประเทศที่มีการจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ดังนั้น เมื่อมีการโยกย้ายเงินทุนออกหรือเข้ามาในประเทศ ก็จะส่งผลต่อคู่สกุลเงินเช่นกัน ตัวอย่างคือ ประเทศไทยมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าสหรัฐอเมริกา นักลงทุนจึงย้ายเงินดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกา มาเปลี่ยนเป็นเงินบาทไทยเพราะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เงินบาทไทยเลยเป็นที่ต้องการมากขึ้น และมีมูลค่ามากขึ้นหรือแข็งค่าขึ้นครับ

 

นโยบายการเงินของธนาคารกลาง

 

3. นโยบายการเงินของธนาคารกลางของแต่ละประเทศ

สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่กระทบโดยตรง เพราะธนาคารจะคอยออกนโยบายที่ใช้ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ หรืออัตราเงินฝืดภายในประเทศ เช่น หากธนาคารกลางเห็นว่า เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงเกินไป ก็จะกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายเพิ่มขึ้น ทำให้เงินที่ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้มีจำนวนลดลง ส่งผลให้ปริมาณเงินในประเทศลดลงตาม จึงเปรียบเสมือนกับการลดอุปทาน หรือปริมาณของเงิน ทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ มีแนวโน้มที่จะแข็งขึ้น