List of content

อัตราดอกเบี้ยต่ำส่งผล USD/JPY อ่อนค่า


อัตราดอกเบี้ยต่ำส่งผล USD/JPY อ่อนค่า

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินเยนของญี่ปุ่นยังคงอ่อนค่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา จากต้นทุนการนำเข้าที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวต่ำลง และความแตกต่างของนโยบายการเงินระหว่างเฟดและธนาคารกลางญี่ปุ่น

โดยดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ติดตามค่าเงินดอลลาร์เทียบกับกลุ่มสกุลเงินอื่น ๆ ลดลง 0.26% มาอยู่ที่ 98.540 เมื่อช่วงเช้าของเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมา ก่อนจะปิดตลาดไปที่ 98.781 ของช่วงเช้ามืดวันเสาร์ตามเวลาประเทศไทย

ส่วนค่าเงินเยนอ่อนค่า ลดลง 0.61% เป็น 121.58 ซึ่งถือว่าเป็นสัปดาห์ที่แย่ที่สุดในรอบ 2 ปี โดยมีราคาเปิดวันจันทร์ (21 มีนาคม 65) อยู่ที่ 119.17 ก่อนจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 122.05 ณ สิ้นวันศุกร์ (25 มีนาคม 65)

โดยในวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้เปิดเผยข้อมูลซึ่งแสดงให้เห็นว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของโตเกียว (CPI) สำหรับเดือนมีนาคม 2022 ขยายตัว 1.3% และ CPI หลักของโตเกียว เพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี และ CPI ดัชนีราคาผู้บริโภคไม่รวมอาหารและพลังงาน ก็เพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เงินเยนยังคงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ โดยตกลงผ่านระดับ 120 และกำลังทดสอบแนวต้านสำคัญที่ระดับ 123.70 

โดยสาเหตุที่ทำให้เงินเยนอ่อนค่าในครั้งนี้มีเหตุผลหลักมาจากนโยบายที่สวนทางกันของเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ทำให้สถานการณ์เงินเยนไม่ค่อยดีนักในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา และเมื่อประกอบกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้เงินเยนอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี

เบรนท์ ดอนเนลลี่ ประธานบริษัท Spectra Markets กล่าวกับรอยเตอร์สว่า “สิ่งหนึ่งที่ควรจับตามองในสกุลเงินดอลลาร์/เยน คือการตอบโต้จากผู้กำหนดนโยบายในญี่ปุ่น”

นอกจากนี้ การควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนของตลาดตราสารหนี้ยังอาจทำให้เงินเยนมีการปรับตัวอ่อนค่าลงได้อีก

อีกปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินเยนอ่อนค่ายังมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลว่าอาจจะทำให้ต้นทุนพลังงานและอาหารมีการปรับตัวสูงขึ้น และจะกระทบต่อเศรษฐกิจยุโรป ทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อยตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีการตรึงราคาไว้ที่ 1.1005 ดอลลาร์

เมื่อมีผู้เสียหายย่อมต้องมีผู้ได้รับผลประโยชน์ด้วยเช่นกัน โดยผู้ได้รับผลประโยชน์ในครั้งนี้ คือ ประเทศผู้ส่งออกพลังงานและอาหารอย่างออสเตรเลียที่มีการปรับตัวขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยที่ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียเพิ่มขึ้นมากกว่า 1% ในช่วงเวลานี้

ส่วนรูเบิลรัสเซียเองก็มีแนวโน้มที่เริ่มทรงตัวมากขึ้นในยุโรป จากการที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ประกาศเริ่มขายก๊าซให้กับประเทศที่ไม่เป็นมิตรกับรัสเซียแล้ว

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรมีการติดตามสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด เนื่องจากตลาดในระยะนี้ค่อนข้างมีความผันผวนสูง โดยในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินเยนเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อย กระนั้น การปรับตัวขึ้น-ลงของสกุลเงินเหล่านี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจส่งผลได้ด้วยเช่นกัน